การตั้งเครื่องบูชาและเครื่องสังเวย

-   ที่สำหรับครูปัธยาย  จัดเครื่องสังเวยของสุกและเป็นเครื่องคู่ (คือสิ่งละ ๒ ที่)
-  ที่สำหรับครูดนตรีอยู่ทางขวามือ จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องคู่
-  ที่องค์พระพิราพทางด้านซ้ายมือ จัดเครื่องสังเวยของดิบเป็นเครื่องคู่
-  ที่พระภูมิจัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว
-  ที่ตรงหน้าเครื่องปี่พาทย์วงที่ใช้บรรเลงในพิธี จัดเครื่องสังเวยของสุกเครื่องเดี่ยว

รายละเอียดเครื่องสังเวย มีดังนี้

  บายศรีปากชาม ๔  คู่ หัวหมูสุก ๓  คู่ ดิบ ๑  คู่
  มะพร้าวอ่อน ๔  คู่ เป็ดสุก ๓  คู่ ดิบ ๑  คู่
  กล้วยน้ำ ๔  คู่ ไก่สุก ๓  คู่ ดิบ ๑  คู่
  ผลไม้ ๗ อย่าง ๔  คู่ กุ้งสุก ๓  คู่ ดิบ ๑  คู่
  อ้อยทั้งเปลือก ๑  คู่ ปลาสุก ๓  คู่ ดิบ ๑  คู่
  เผือก มัน ถั่ว งา นม เนย ๔  คู่ ปูสุก ๓  คู่ ดิบ ๑  คู่
  เหล้า ๔  คู่ หัวใจ ตับ หมูดิบ ๑  คู่
  เครื่องกระยาบวช ๔  คู่ ไข่ไก่ดิบ ๑  คู่
  ขนมต้มแดง ขาว ๔  คู่ หมูหนาม ๔  คู่
  เครื่องจิ้ม ๔  คู่ ข้าวเหนียวหน้าเนื้อ หรือมะตะบะ ๑ คู่
  หมาก พลู บุหรี่ ไม้ขีดไฟ ๔  คู่ น้ำเย็น ๔  คู่
  บุหรี่ กับ ชา ๔  คู่

     จัดสิ่งของเหล่านี้ให้ครบไม่ขาดไม่เกิน  นอกจากเครื่องบูชาและเครื่องสังเวยแล้ว ยังมีเครื่องกำนล ประกอบด้วย ขัน ๑ ใบ เงิน ๖ บาท ผ้าห่มหรือผ้าเช็ดหน้า ๑ ผืน เทียนขี้ผึ้งขาว ๓ เล่ม ดอกไม้ ธูป บุหรี่ ไม้ขีดไฟ และหมากพลู ๓ คำ ใช้ทั้งประธานในพิธีและผู้เข้าครอบครู