เพลงตับ เพลงตับ
หมายถึง เพลงที่บรรเลงเป็นเรื่อง มีแขนงย่อยแบ่งออกเป็น ตับเรื่อง และตับเพลง ๑.
ตับเรื่อง
หมายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลงติดต่อกัน มีบทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน และดำเนินไปโดยลำดับ
ฟังแล้วรู้เรื่องโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ส่วนทำนองเพลงจะเป็นคนละอัตรา
คนละประเภท หรือหมายถึง เพลงที่ร้องและบรรเลงประกอบการแสดงโขนและละครที่เป็นเรื่อง
เป็นชุด หรือเป็นตอน ตัวอย่างของเพลงตับเรื่อง เช่น ตับนางลอย ตับพระลอ(ตับเจริญศรี) และตับนางซินเดอริลลา ตับนางลอย
ได้แก่เพลง ยานี เชิดฉิ่ง แขกต่อยหม้อ โล้ ช้าปี่ หรุ่ม ร่าย เต่าเห่ ตะลุ่มโปง พ้อ ขวัญอ่อน กล่อมพญา พราหมณ์เก็บหัวแหวน แขกบรเทศ เชิดนอก ตับพระลอ(ตับเจริญศรี)
ได้แก่เพลง เกริ่น ลาวเล็กตัดสร้อย ลาวเล่นน้ำ สาวกระตุกกี่ กระแตเล็ก ดอกไม้เหนือ ลาวเฉียง ลาวครวญ ลาวกระแช ตับนางซินเดอริลลา ได้แก่เพลง
วิลันดาโอด ฝรั่งจรกา ครอบจักรวาล ฝรั่งรำเท้า เวสสุกรรม หงส์ทอง เพลงยานี | เมื่อนั้น | องค์ท้าวทศพักตร์ยักษา | แลเห็นเบญกายแปลงมา | ได้อย่างสีดาไม่คลาดคลาย | แย้มยิ้มพริ้มพักตร์พยักตรัส | แม้นหลานตัดศึกสมอารมณ์หมาย | เมืองมารจะเป็นสุขสนุกกาย | เจ้าเร่งผันผายไปให้ทันกาล |
๒.
ตับเพลง หมายถึง เพลงที่นำมารวมร้องและบรรเลง จะต้องมีสำนวนทำนองสอดคล้องต้องกัน
คือ มีเสียงขึ้นต้นเพลงคล้ายๆ กัน คือ สำเนียงคล้ายๆ กัน เป็นเพลงในอัตราจังหวะเดียวกัน
เช่น เป็นสองชั้นเหมือนกัน หรือสามชั้นเหมือนกัน ส่วนบทร้องจะมีเนื้อเรื่องอย่างไร
เรื่องเดียวกันหรือไม่ ไม่ถือเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างตับเพลง เช่น ตับลมพัดชายเขา
(สามชั้น) ตับต้นเพลงฉิ่ง (สามชั้น) และตับต้นเพลงฉิ่ง (สองชั้น) ตับลมพัดชายเขา
(สามชั้น) ได้แก่เพลง ลมพัดชายเขา แขกมอญบางช้าง ลมหวน เหราเล่นน้ำ ตับต้นเพลงฉิ่ง
(สามชั้น) ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง จระเข้หางยาว ตวงพระธาตุ นกขมิ้น ตับต้นเพลงฉิ่ง
(สองชั้น) ได้แก่เพลง ต้นเพลงฉิ่ง สามเส้า ตวงพระธาตุ นกขมิ้น ธรณีร้องไห้ ลมพัดชายเขา | พระราชนิพนธ์เรื่อง
อิเหนา | เวลาดึกเดือนตกนกร้อง | ระวังไพรไก่ก้องกระชั้นขัน | เสียงดุเหว่าเร้าเรียกหากัน | ฟังหวั่นว่าเสียงทรามวัย | พระลุกขึ้นเหลียวแลชะแง้หา | เจ้าตามาร้องเรียกหรือไฉน | ลมชวยรวยรสสุมาลัย | หอมกลิ่นเหมือนสไบบังอร |
|