รำโนราแม่บท | ||
โนราเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานาน
และนิยมกันอย่างแพร่หลายในภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้องและการรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง
และมีบางโอกาสแสดงความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม จากตำนานต่างๆ ได้กล่าวถึงการละเล่นพื้นเมืองนี้
เช่น บทพระราชนิพนธ์ เรื่อง"อิเหนา" ในรัชกาลที่ ๒ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เรียกการละเล่นนี้ว่า "ชาตรี" หลังจากที่ชาตรีได้แพร่หลายสู่ภาคกลางแล้ว
ชาวภาคกลางเห็นว่ามีลักษณะใกล้ละคร จึงเรียกว่า "ละครชาตรี" ท่าที่
๑ ท่าแม่ลาย (กนก) เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง มี ๖ ชิ้น ได้แก่ ๑. ทับ
๑ คู่ เป็นตัวคุมจังหวะและเดินทำนอง รำโนราแม่บท มีการรำทั้งสิ้น 3 บทด้วยกัน คือ บทครูสอน บทสอนรำ และบทประถม บทครูสอน | ||
ครูเอ๋ยครูสอน ครูสอนให้โผกผ้า ครูสอนให้ครอบเทริดน้อย ครูสอนให้ทรงกำไล เสดื้องเยื้องข้างซ้าย เสดื้องเยื้องข้างขวา ตีนถีบพนัก หาไหนให้ได้เสมือนน้อง | เสดื้องกรต่อง่า สอนข้าให้ทรงกำม์ไล แล้วจับสร้อยพวงมาลัย สอดใส่ซ้ายใส่ขวา ตีค่าได้ห้าพารา ตีค่าได้ห้าตำลึงทอง ส่วนมือชักเอาแสงทอง ทำนองพระเทวดา | |
บทสอนรำ | ||
สอนเอยสอนรำ ปลดปลงลงมา วาดไว้ปลายอก ซัดสูงขึ้นเพียงหน้า ปลดปลงลงมาได้ นี่เรียกรูปวาด ท่านี้คงเรียน ฉันนี้เหวยนุช ฉันนี้นงคราญ รำเล่นสูงสุด ครุฑเฉี่ยวนาคได้ ทำท่าหนุมาน รำท่าเทวา ท่านางมัทรี ท่าพระดาบส สี่มุมปราสาท ฉันนี้ตนกลม | ครูให้ข้ารำเทียมบ่า แล้วให้ข้ารำเพียงพก เรียกแม่ลายกนกผาลา เรียกช่อระย้าดอกไม้ ครูให้ข้ารำโคมเวียน ไว้วงให้เหมือนรูปเขียน ท่าจ่าเทียนพาดตาล พระพุทธเจ้าท่านห้ามมาร พระรามเธอข้ามสมุทร เป็นท่าพระยาครุฑร่อนมา ร่อนกลับไปในเวหา เหาะทะยานไปเผาลงกา สาถีขี่ม้าชักรถ จรลีหว่างเขาวงกต ลีลาจะเข้าอาศรม วาดไว้เป็นหน้าพรหม เรียกพระนารายณ์น้าวศร | |
บทประถม ตั้งต้นให้เป็นประถม
ตั้งต้นสาวนะเป็นประถม | ||