บ้านรำไทย ดอนเมือง (www.banramthai.com) เพลงช้า-เพลงเร็ว(อย่างตัด) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แม่ท่าเพลงช้า-เพลงเร็ว
มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้จดจำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพลงช้า-เพลงเร็ว
เป็นเพลงประเภทหน้าพาทย์ จัดอยู่ในประเภทเพลงหน้าพาทย์อัญเชิญครูโขน ละคร พระ
นาง มาร่วมในพิธีให้ลูกศิษย์ได้คารวะในวันไหว้ครู เมื่อนำมาใช้สำหรับหลักสูตรบทเรียนนาฎศิลป์
จัดอยู่ในประเภทเพลงฝึกหัดการรำนาฎศิลป์เบื้องต้น โดยเฉพาะผู้ฝึกหัดได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวพระ-นาง
ต้องผ่านการฝึกหัดเบื้องต้นการรำเพลงช้า-เพลงเร็วก่อน ถ้าต้องการฝึกเพื่อเป็นศิลปินหรือครูผู้สอนนาฎศิลป์
ซึ่งทำหน้าที่ผลิตศิลปิน จำเป็นต้องฝึกในรูปแบบเพลงช้า-เพลงเร็วอย่างเต็ม ท่ารำในเพลงช้า-เพลงเร็ว
เป็นการนำเอาแม่ท่ามาเรียงลำดับโดยมีลีลาเชื่อมท่ารำต่อเนื่องกันไป ถือว่าเป็นเพลงบูชาครู
ดังนั้น ก่อนที่เรียนรำเพลงอื่นๆ
ผู้เรียนควรจะต้องรำเพลงช้าเพลงเร็วก่อนทุกครั้ง ผู้เรียนรำจะต้องฝึกหัดรำเพลงบูชาครูให้คล่องแคล่วแม่นยำ
เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนเพลงอื่นๆ ต่อไป การฝึกหัดเพลงช้า-เพลงเร็ว เป็นการฝึกหัดที่เป็นขั้นตอนมีระเบียบแบบแผน ฝึกให้มีระเบียบวินัย เป็นแม่แบบของผู้รักษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเป็นเบื้องต้นของผู้ที่เป็นศิลปิน นอกจากนั้น การฝึกเพลงช้า-เพลงเร็ว ยังให้ประโยชน์โดยเฉพาะ คือ - จัดรูปทรง สัดส่วน งดงามตามรูปแบบนาฎศิลป์ - เรียนรู้ให้ใช้อวัยวะให้สัมพันธ์กัน โดยเริ่มตึงเอว ไหล่ การทรงตัว - ได้ฝึกออกกำลังร่างกายทุกส่วนของอวัยวะ - มีทักษะในการร่ายรำอย่างคล่องแคล่วว่องไว |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|